พระพุทธทาสภิกขุ (พุทธทาส อินทปัญโญ)
พุทธทาสภิกขุ หรือ พระธรรมโกศาจารย์ นามเดิม เงื่อม พานิช เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๙ ณ บ้านกลาง ต.พุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๗ สำเร็จการศึกษาชั้น น.ธ.เอก, ป.ธ.๓ เริ่มก่อตั้งสวนโมกขพลาราม ที่ อ.ไชยา เมื่อวันที่ ๑๒ พ.ค. ๒๔๗๕ และหันมาใช้นามปากกา "พุทธทาส" แทนนามเดิมนับแต่นั้นมา ท่านพุทธทาสภิกขุอุทิศตนเผยแผ่พระพุทธศาสนาจนกระทั่งถึงแก่มรภาพอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ ๘ ก.ค. ๒๕๓๖ คำสอนอันโดดเด่นของท่านคือเรื่อง "การปล่อยวาง" ผลงานอันยิ่งใหญ่ของท่านคืองานนิพนธ์ชุด "ธรรมโฆษณ์" และงานนิพนธ์อีกไม่น้อยกว่า ๓๕๐ เล่ม ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับการสดุดีว่าเป็นมหาปราชญ์แห่งพุทธธรรมทางบูรพาทิศ ที่มีเกีตรติคุณไม่น้อยไปกว่าท่านนาคารชุน ปราชญ์ใหญ่ฝ่ายมหายานในอดีต ปัญญาชนทั้งไทยและต่างประเทศถือว่า ท่านเป็นนักปฏิรูปพระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดรูปหนึ่งของเมืองไทย
พระโพธิญาณเถระ (ชา สุภทฺโท)
พระโพธิญาณเถระ หรือ หลวงปู่ชา สุภัทโท นามเดิม ชา ช่วงโชติ เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๑
ณ บ้านก่อ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานีอุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๒ ณ วัดก่อใน ต.ธาตุ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี อุปสมบทแล้วท่านได้อุทิศตนศึกษาพระธรรมวินัยอย่างจริงจัง แล้วจึงจาริกออกปฏิบัติธรรมตามป่าเขาลำเนาไพร จนเมื่อได้เวลาอันสมควร คือ พ.ศ. ๒๔๙๗ จึงกลับมาก่อตั้งวัดหนองป่าพง ซึ่งเป็นวัดป่าฝ่ายอรัญวาสีที่บ้านเกิด โดยมีท่านเองเป็นเจ้าอาวาส พร้อมทั้งได้เริ่มงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา แก่พุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และได้ก่อตั้งวัดป่านานาชาติเพื่อเป็นวัดนานาชาติสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการบวชในพระพุทธศาสนา นับแต่นั้นเป็นต้นมา ปัจจุบันวัดหนองป่าพงมีสาขาอยู่ทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก รวมแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐๐ สาขา หลวงปู่ชามรณภาพเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕ นับว่าเป็นพระมหาเถระที่มีผลงานทางด้านเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้านวิปัสสนาธุระที่โดดเด่นที่สุดรูปหนึ่งของสังคมไทยปัจจุบัน
พระพิศาลธรรมพาที (พยอม กัลยาโณ)
พระพิศาลธรรมพาที(พยอม กัลยาโณ) นามเดิม พยอม จั่นเพชร เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๔๙๒ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี บรรพชาเมื่อ เมษายน ๒๕๐๒ และอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๑๓ ณ วัดสังวรณ์วิมลไพบูรย์ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี สำเร็จการศึกษา น.ธ.เอก ในปี พ.ศ.๒๕๑๖ และได้ไปจำพรรษาอยู่กับท่านพุทธทาสที่สวนโมกขพลารามในการปฏิบัติธรรม แล้วจึงได้กลับมาทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพัฒนา วัดสวนแก้ว จ.นนทบุรี จนได้รับการยกย่องว่าเป็นพระนักเทศน์และพระผู้เสียสละ ดังกวีนิพนธ์ โดย อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
พระผู้สร้างผู้ทำนำคนทุกข์
| ให้รู้ทางสร้างสุขพึ่งตนได้ | |
เอาเหงื่อต่างน้ำมนต์พ้นพิษภัย
| เอาชนะทุกข์ได้ด้วยการงาน | |
เป็นที่พระพิศาลธรรมพาที
| เป็นพระดีที่รักของชาวบ้าน | |
ไม่ออกนอกแก่นธรรมนอกตำนาน
| ท่านอาจารย์พระพยอม กัลยาโณ |
ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสิ
พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
นามเดิมว่า เทสก์ เรี่ยวแรง เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๕ ปีขาล ณ บ้านสีดา ตำบลกลางใหญ่ จังหวัดอุดรธานี บิดาชื่อ อุส่าห์ เรี่ยวแรง เดิมเป็นชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
เมื่ออายุ 16 ปี หลวงปู่เทสก์ ได้ติดตามพระอาจารย์สิงห์ รอนแรมไปในป่า เป็นเวลาเดือนกว่า จึงถึงเมืองอุบลฯ หลวงปู่ไปบรรพชาเป็นสามเณร โดยมีพระอาจารย์ลุย บ้านดงเค็งใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ บรรชาแล้วได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม จนสอบนักธรรมชั้นตรี ได้ในปีที่มีอายุครบ ๒๐ และวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๔๖๖ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดสุทัศน์ อำเภอเมือง อุบลราชธานี โดยมี พระมหารัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี นับเป็นลูกศิษย์ ที่สำคัญยิ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตโต องค์หนึ่ง ท่านได้อุตสาหะปฏิบัติบำเพ็ญธรรมด้วยชีวิตเป็นเดิมพัน หลวงปู่ฯ ได้บำเพ็ญกรณียกิจ เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชน และความเจริญมั่นคงแห่งพระศาสนา โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคต่าง ๆ และด้วยจิตใจที่แน่วแน่มั่นคง ผู้ที่เคยได้กราบนมัสการท่าน มักพูดในทำนองเดียวกันว่า ได้รับความอิ่มใจและเป็นบุญของเขาที่ได้มีโอกาสกราบนมัสการท่าน ทั้งนี้คงเป็นเนื่องจากบารมีธรรมที่หลวงปู่ได้บำเพ็ญเพียรปฏิบัติมาและเมตตาจิต ที่หลวงปู่แผ่มายังบุคคลเหล่านั้นนั่นเอง
ท่านอาพาธหนักครั้งสุดท้าย เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๗ และถึงแก่มรณะภาพด้วยอาการอันสงบ เมื่อเวลา ๒๑ นาฬิกาเศษ ของวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๓๗ ณ วัดถ้ำขาม อ.พรรณนิคม จ.สกลนคร สิริอายุได้ ๙๒ ปี ๗ เดือน ๒๑ วัน
พระพรหมมังคลาจารย์ หรือ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ (พระผู้อุทิศชีวิตเพื่อศาสนาโดยมิเหน็ดเหนื่อย)
นามเดิม ปั่น เสน่ห์เจริญ เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ พ.ค. ๒๔๕๔ ณ ต.คูหาสวรรค์ อ.เมือง จ.พัทลุง บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒ แล้วตั้งต้นศึกษาพระปริยัติธรรมจนจบชั้น น.ธ.เอก อุปสมบทเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๔ ณ วัดนางลาด ต.เขาเจียก อ.เมือง จ.พัทลุง ได้รับฉายาว่า "ปัญญานันทะ"
จากนั้นศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีจนสอบได้ชั้น ป.ธ.๔ และเริ่มงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจังด้วยการเทศน์ ท่านปัญญานันทภิกขุกับท่านพุทธทาสภิกขุ ให้ความเคารพนับถือกันเสมือนหนึ่งเป็นพี่น้องในทางธรรม
ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฏ์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี และเป็นองค์อุปถัมภ์วัดปัญญานันทาราม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
ความโดดเด่นของท่านปัญญานันทภิกขุคือการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างตรงไปตรงมาตามพระธรรมวินัย อันเป็นเหตุให้ท่านได้ชื่อว่าเป็นนักเทศน์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดรูปหนึ่งซึ่งสังคมไทยเคยมีมา
มรณภาพ : 10 ตุลาคม 2550 สิริอายุรวม 96 ปี
อ้างอิง https://sites.google.com/site/bofindy/home/hlak-thrrm-yud-heniyw-citci
วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
นามเดิมว่า เทสก์ เรี่ยวแรง เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๕ ปีขาล ณ บ้านสีดา ตำบลกลางใหญ่ จังหวัดอุดรธานี บิดาชื่อ อุส่าห์ เรี่ยวแรง เดิมเป็นชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
เมื่ออายุ 16 ปี หลวงปู่เทสก์ ได้ติดตามพระอาจารย์สิงห์ รอนแรมไปในป่า เป็นเวลาเดือนกว่า จึงถึงเมืองอุบลฯ หลวงปู่ไปบรรพชาเป็นสามเณร โดยมีพระอาจารย์ลุย บ้านดงเค็งใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ บรรชาแล้วได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม จนสอบนักธรรมชั้นตรี ได้ในปีที่มีอายุครบ ๒๐ และวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๔๖๖ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดสุทัศน์ อำเภอเมือง อุบลราชธานี โดยมี พระมหารัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี นับเป็นลูกศิษย์ ที่สำคัญยิ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตโต องค์หนึ่ง ท่านได้อุตสาหะปฏิบัติบำเพ็ญธรรมด้วยชีวิตเป็นเดิมพัน หลวงปู่ฯ ได้บำเพ็ญกรณียกิจ เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชน และความเจริญมั่นคงแห่งพระศาสนา โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคต่าง ๆ และด้วยจิตใจที่แน่วแน่มั่นคง ผู้ที่เคยได้กราบนมัสการท่าน มักพูดในทำนองเดียวกันว่า ได้รับความอิ่มใจและเป็นบุญของเขาที่ได้มีโอกาสกราบนมัสการท่าน ทั้งนี้คงเป็นเนื่องจากบารมีธรรมที่หลวงปู่ได้บำเพ็ญเพียรปฏิบัติมาและเมตตาจิต ที่หลวงปู่แผ่มายังบุคคลเหล่านั้นนั่นเอง
ท่านอาพาธหนักครั้งสุดท้าย เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๗ และถึงแก่มรณะภาพด้วยอาการอันสงบ เมื่อเวลา ๒๑ นาฬิกาเศษ ของวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๓๗ ณ วัดถ้ำขาม อ.พรรณนิคม จ.สกลนคร สิริอายุได้ ๙๒ ปี ๗ เดือน ๒๑ วัน
หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
พระพรหมมังคลาจารย์ หรือ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ (พระผู้อุทิศชีวิตเพื่อศาสนาโดยมิเหน็ดเหนื่อย)
นามเดิม ปั่น เสน่ห์เจริญ เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ พ.ค. ๒๔๕๔ ณ ต.คูหาสวรรค์ อ.เมือง จ.พัทลุง บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒ แล้วตั้งต้นศึกษาพระปริยัติธรรมจนจบชั้น น.ธ.เอก อุปสมบทเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๔ ณ วัดนางลาด ต.เขาเจียก อ.เมือง จ.พัทลุง ได้รับฉายาว่า "ปัญญานันทะ"
จากนั้นศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีจนสอบได้ชั้น ป.ธ.๔ และเริ่มงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจังด้วยการเทศน์ ท่านปัญญานันทภิกขุกับท่านพุทธทาสภิกขุ ให้ความเคารพนับถือกันเสมือนหนึ่งเป็นพี่น้องในทางธรรม
ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฏ์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี และเป็นองค์อุปถัมภ์วัดปัญญานันทาราม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
ความโดดเด่นของท่านปัญญานันทภิกขุคือการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างตรงไปตรงมาตามพระธรรมวินัย อันเป็นเหตุให้ท่านได้ชื่อว่าเป็นนักเทศน์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดรูปหนึ่งซึ่งสังคมไทยเคยมีมา
มรณภาพ : 10 ตุลาคม 2550 สิริอายุรวม 96 ปี
อ้างอิง https://sites.google.com/site/bofindy/home/hlak-thrrm-yud-heniyw-citci
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น